วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาษาพาเพลิน ตอน "Fire in the hole"

ครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้ว ไปดูภาพยนต์เรื่องเกี่ยวกับกำเนิดของพระเยชู ซึ่งในเรื่องมีการแปลคำว่า "Halo" ว่า "ฉัพรรณรังษี" พอกลับบ้านก็เลยไปโพสต์ในห้องเฉลิมไทยของเวบพันทิป ว่าทำไมเขาแปลแบบนี้ คือว่ามันผิด ผลปรากฏว่า ... ปรากฏว่าโดนรุมด่าน่ะสิ โทษฐานที่ไปรู้ดีกว่านักแปลชื่อดัง ..แล้วคนที่แปลเรื่องนี้เขาก็ดังจริงๆ ผมว่าเขาเก่งภาษาอังกฤษมาก ถึงมาทำงานแปลบทภาพยนต์ได้ แต่บางทีเขาอาจจะไม่เก่งภาษาไทย ก็เป็นไปได้กระมัง!!

คำว่า "ฉัพรรณรังสี" คือรัศมีอันประกอบด้วยแสงหกประการ ที่จะเปล่งรัศมีออกมาจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า เป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ (ฉพ แปลว่า 6 ในภาษาบาลี) ดังนั้นในหนังเรื่องนั้นจะอธิบายรัศมีรอบศรีษะของพระเยซูว่าฉัพรรณรังสี ก็ดูจะเป็นการกล่าวตู่เอาคุณลักษณะเฉพาะของพระพุทธเจ้ามาใช้อธิบาย ซึ่งแน่นอนว่าไม่ถูก และยังไม่ควรอีกด้วย อันนี้ไม่ได้พยายามจะพูดว่าศาสดาของศาสนาใหนสำคัญกว่า แต่อยากจะบอกว่างานแปลบทภาพยนต์ มันเป็นงานสาธารณะ ที่มีผู้ชมมาก ดังนั้นผู้แปลจึงต้องระมัดระวัง ถ้ามีอะไรไม่แน่ใจต้องค้นคว้าก่อน ก็เข้าใจอยู่ว่า ไม่มีใครรู้อะไรไปหมดทั้งโลก แต่ทำการบ้านบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ชมที่เสียเงินไปดูครับ

หัวเรื่องในวันนี้คือคำว่า "Fire in the hole" ใช่ครับ มันเป็นคำที่ผมจำมาจากภาพยนต์ที่แปลแล้วทำให้งงอีกเช่นเดียวกัน ปกติก็ไม่ได้เห็นศัพท์นี้เป็นการทั่วไป แต่เรียนรู้เอาไว้ก็อาจะมีประโยชน์ เพราะว่าพบในภาพยนต์หลาย ๆ เรื่อง เท่าที่ผมจำได้ก็มีเรื่อง "X-Men" และเรื่อง "Over the hedge" ที่จริงก็มีอีกนะ แต่ผมจำไม่ได้เสียแล้ว ทุกๆเรื่องจะแปล Fire in the hole ว่า "ไฟในหลุม" หรือไม่ก็ "ไฟในรู" โดยที่ไม่ได้ตะขิดตะขวงใจอะไรบ้างเลย ว่าคนดูเขาจะรู้เรื่องใหม



ที่ มาของมันอยู่ไกลมาก ย้อนหลังไปถึงต้นศตวรรษที่ 20 อาชีพทำเหมืองเป็นงานที่อันตรายและคนไม่อยากทำมากที่สุด (จริงๆแล้วศตวรรษนี้มันก็ยังอันตรายอยู่ดีนั่นแหละ) มักจะมีคนแขนขาด ขาขาด หรือถึงขั้นเสียชีวิต จากระเบิดที่ใช้ในการระเบิดหิน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น ทีมที่จุดระเบิด จะตะโกนบอกคนอื่น ๆ ว่า "Fire in the hole" ก่อนจะทำการจุดระเบิด (คำว่าจุดระเบิดภาษาอังกฤษเรียกว่า Detonation

ต่อ มามันได้ถูกใช้อย่างเป็นทางการ เพราะว่าเป็นคำที่ปรากฏอยู่ในตรากฏหมายของรัฐหลาย ๆ รัฐที่มีการทำเหมือง ยกตัวอย่างเช่นรัฐอิลินอยส์ (ไม่รู้คนรัฐนี้มันนอยกันั้งรัฐหรือเปล่าหนอ อิอิ) ระบุว่า “The shot firer must give a loud, verbal warning such as ‘fire in the hole’ at least three times before blasting” (ต้องให้คนจุดระเบิด เตือนทางวาจา ด้วยเสียงอันดัง เช่นคำว่า "Fire in the hole" สามครั้งก่อนทำการระเบิด) และด้วยการที่มันเป็นข้อความทางกฏหมายนี่เอง เป็นการช่วยยืนยันว่า เขาสะกดอย่างนี้(จริง ๆ นะ) เพราะว่ามีคนที่เข้าจะผิดคิดว่าเป็น "Fire in the hold"

และ ต่อมาอีก ประมาณปี 1940 มันได้ถูกนำมาใช้เป็นศัพท์ทางการทหาร ด้วยความหมายเดิม คือเป็นการเตือนให้ระวัง,และเตรียมพร้อม โดยเริ่มจากกองทหารปืนใหญ่ จะตะโกนคำว่า "Fire in the hole" ก่อนจะยิงปืนใหญ่ และก็ยังพบว่าในช่วงเวลาเดียวกันทหารราบก็ใช้คำว่า "Fire in the hole" ก่อนทำการโยนระเบิดเข้าไปในที่เป็นพื้นที่ปิด ซึ่งอาจจะมีแรงสท้อนกลับของแรงระเบิดได้ ภายหลังก็ได้แพร่หลายในหมู่ทหารอื่น ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่จะยิงปืนใหญ่ โยนระเบิด ก็จะใช้ว่า "Fire in the hole" กันทั้งหมด ตรงนี้ผมเดาเอาเองว่าน่าจะเป็นเพราะเป็นช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง คนงานเหมือนถูกเกณฑ์มาเป็นทหารกันมาก มันก็เลยถูกนำมาใช้กับการทหารไปด้วย

ต่อ มา ในศตวรรษที่ 21 นี่เอง ที่มันกลายเป็นคำฮิตในหมู่พลเรือน อาจะเป็นเพราะว่าภาพยนต์สงครามออกฉายหลายเรื่องก็ได้ ทำให้คนจำมันติดหู และเอาไปใช้กับลักษณะอาการที่จะโยนสิ่งของออกไป อาจจะโยนให้คน หรือโยนไปในที่ว่าง ๆ ก็ใช้ได้เหมือนกัน มีร้านฟาสต์ฟูตหลาย ๆ แห่ง ที่โยนเครืองดื่มกระป๋องให้ลูกค้า ก็จะพูดว่า "Fire in the hole" เป็นการบอกให้ลูกค้าเตรียมรับสินค้า และในศตวรรษนี้ผู้ที่ใช้มันมากที่สุด ก็ไม่ใช่ทหารอีกต่อไป แต่เป็นวงการภาพยนต์ ทีมงานที่ทำ Special Effect จะใช้ "Fire in the hole" ทุกครั้งที่จะทำการระเบิด นอกจากจะให้ทีมงานระวังตัวแล้ว ยังเป็นการเตือนช่างกล้องทุกตัว ไม่ให้พลาดช๊อตสำคัญ เพราะถ้าพลาดไปต้องมาติดตั้ง Special Effect กันใหม่หมด อีกวงการหนึ่งที่ใช้มากก็คือเกมส์ออนไลน์ครับ เกมส์หลาย ๆ เกมส์ที่เป็นแนว ยิงปืน, ปาระเบิด เช่น Counter Strike(CS) เป็นต้น ผมว่าใน CS เขาพูดบ่อยไป จนออกจะน่ารำคาญไปแล้ว

และ "Fire in the hole" ก็ยังถูกใช้ไปในเชิงล้อเลียนอีกด้วย เช่นการผายลม ถ้าคุณด้านพอ ก่อนจะผายลม ก็ตะโกนบอกเพื่อน ๆ ก่อนว่า "Fire in the hole" เพื่อนๆ จะได้หนีกันทันครับ ถึงจะไม่ทำให้แขนขาขาด แต่มันก็เป็นมลภาวะทางอากาศ(หรืออาจะมลภาวะทางเสียงด้วยในบางกรณี)เตือนกันเสีย
ก่อน มันก็ดูดีมีมารยาทดีนะครับ พวกที่ใช้เชิงล้อเลียนแบบนี้ มีอีกมากครับ คงจะอธิบายกันใหม่หมด และส่วนใหญ่มันก็จะลงไปใต้สะดือแทบทั้งนั้น ยังไม่อยากเขียนบทความ 18+ ครับ 555

วันนี้เราได้รู้จักพัฒนาการของคำว่า "Fire in the hole" อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ถึง ศตวรรษที่21 พบกันใหม่ตอนหน้าครับ

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 สิงหาคม 2554 เวลา 11:30

    ขอบคุณครับ ฮ่า ๆๆๆ

    ผายลม ก็ใช้ได้ด้วยเนอะ ต้องเอาไปลอง !!

    ตอบลบ
  2. ทหารไทยใช้
    จุดระเบิด เข้าที่กำบัง

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ1 กันยายน 2557 เวลา 00:16

    ขอบคุณครับ หายงง

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับ ผมนิอยู่ในโหมดเกมออนไลน์ (เข้าใจเสียที)

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณครับ ผมนิอยู่ในโหมดเกมออนไลน์ (เข้าใจเสียที)

    ตอบลบ