วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาษาพาเพลิน ตอน "I don't give a damn"

เช้านี้อากาศไม่ค่อยหนาวเหมือนเมื่ออาทิตย์ก่อน คอการเมืองทั้งหลายก็พูดกันอยู่ได้ในเรื่องปรองดอง ภาษาอังกฤษเราใช้คำว่า Reconciliation แทนปรองดองในภาษาไทย ในกรณีเป็นกริยาเราใช้ว่า Reconcile

สำหรับผมอยากจะบอกว่า Thailand really need a reconciliation. แต่คิดไปคิดมา ถ้าบอกว่า Reconciliation ในเมืองไทยมันคือการทำให้ประชาชนคิดเหมือนกัน มันก็ไม่ใช่แล้ว การที่คนไทยถูกสอนให้คิดแบบ "ภาคบังคับ" มันทำให้ประเทศไทยไม่โต และเป็นอย่างนี้มานับศตวรรษแล้ว  การที่คนไทยคนหนึ่งจะทำความคิดดีงามอะไรสักอย่าง พบว่าหลาย ๆ ครั้ง มันมาจาการ Propaganda --คำ ๆ นี้มันแปลว่ากาารโฆษณาชวนเชื่อ เมื่อ Propaganda มาก ๆ มันก็กลายเป็นหลอกชาวบ้านว่าเราเป็นอย่างนั้น ไป ๆ มา ๆ เราก็หลอกตัวเองด้วย ที่จริงแล้วการที่คนไทยคิดต่างกันแล้วอยู่ด้วยกันอย่างไม่มีปัญหาได้ต่างหาก คือสิ่งที่ต้องการ และควรเป็น

ตอนนี้แม้ เสธ.หนั่น จะพยายามเต็มที่เพื่อให้เกิด Reconciliation ในประเทศไทย แต่ผมอยากจะบอกว่า Thais don't give a damn on the reconciliation that is being proposed by Mr.Sanan.  ใช่ครับ, คนไทยไม่ได้สนใจเรื่องการปรองดองที่กำลังถูกเสนอโดย เสธ.หนั่นเลย

การ ปรองดองของคนในชาติ ไม่ได้หมายถึงปล่อยตัวนักโทษ หรือล้างความผิดคดีต่าง ๆ ของพันธมิตร และ นปช. หรือให้คุณทักษิณกลับบ้าน การทำอย่างนั้นผมเองไม่ได้ต่อต้าน แต่เห็นว่ามันเป็นการช่วยเหลือกันของนักการเมืองต่อนักการเมือง ให้รอดพ้นจากคดีต่าง ๆ แต่สิ่งที่เป็นปัญหากับประเทศจะไม่ได้รับการแก้ไข และหมักหมมในประเทศต่อไป ผมพูดทั้งสองฝ่าย เพราะมันมีคดีกันทั้งสองฝ่าย แล้วประชาชนจะได้อะไรบ้าง --ประชาชนก็แค่ถูกยกขึ้นมาอ้าง (เหมือนอย่างเคย)

เกริ่นนำเรื่องวันนี้ อาจจะดูเคร่งเครียดไปเล็กน้อย วันนี้เราจะคุยกันเรื่อง I don't give a damn ครับ คงพอจะเดาได้จากประโยคที่ยกตัวอย่างไว้ด้านบนแล้ว ว่า I don't give a damn มันแปลว่า "ฉันไม่สนหรอก" คล้าย ๆ กับ I don't care นั่นเอง แต่มันได้ความรู้สึบแบบดิบ ๆ มากกว่าการพูดว่า I don't care เฉย ๆ ยังมีอีกประโยคหนึ่งที่ให้ความหมายเหมือนกันคือ "I don't give a shit" ทั้งหมดนี้ล้วนมีความหมายว่า "ฉันไม่สน" เหมือนกัน

มันมีเกร็ดเล็กน้อย ที่เป็นต้นกำเนิดของประโยคนี้
ผู้คนรู้จักประโยค I don't give a damn จากภาพยนต์เรือง Gone with the wind ซึ่งประโยคนี้ถูกพูดโดย Rhett Butler(แสดงโดย Clark Gable) เมื่อ Scarlett O'Hara ถามว่า "Where shall I go, What shall I do" --ฉันจะไปไหน, ฉันจะทำอะไร (เมื่อเธอจะทิ้งฉันไป) แล้ว Butler ก็ตอบว่า "Frankly, my dear, I don't give a damn" --พูดแบบแฟร้งค์ๆ เลยนะ ที่รัก ฉันไม่สนหรอก!!!  เจ็บปวดไหมล่ะครับ?

ว่ากันไปแล้ว Gone with the wind ทำให้ประโยคนี้มีชื่อเสียงและติดปากผู้คน เนื่องจากเป็นหนังที่ดังมากในปี 1939 (ใครเกิดทันบ้างเนี่ย) แต่จุดกำเนิดของมันอยู่ในเอเซียใกล้ ๆ เรานี่เอง

ในสมัยที่อังกฤษปกครองอินเดีย สกุลเงินที่อินเดียใช้ ไม่ใช่ Rupee (รูปี) เหมือนทุกวันนี้ แต่เป็นสกุลที่เรียกว่า "Dam" ชาวอินเดียก็ชอบทำมาค้าขายทหารอังฤษ เพื่อหารายได้  คล้าย ๆ กับคนไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เราก็เอาของไปขายให้ญี่ปุ่นนั่นแหละ ที่นี้บางทีคนอินเดียก็เอาของห่วย ๆ ไปขาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝรั่ง(อังกฤษ) มันก็ตอบกลับไปว่า "No no no .. I don't give a dam"  "ไม่เอาง่ะ ไอไม่ให้แกสักกะแดมหนึ่ง" ซึ่งคำนี้มันติดปากคนอังกฤษกลับไปบ้านด้วย .. ผมสงสัยว่าคนอินเดียคงจะเก่งในด้านการเอาของห่วย ๆ มาหลอกขายแพง ๆ แค่มาขายถั่ว ขายโรตี ในบ้านเรามันยังมี Tricky เลย  จากนั้นมาคนอังกฤษก็ใช้ประโยค I don't give a damn ในความหมายว่า I don't care จนกระทั่งหนังเรื่อง Gone with the wind เอามาใช้ ประโยคนี้จึงเป็นที่นิยมกันทั่วไป

พบกันใหม่ตอนหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น