Once in a blue moon.
สำนวน ในวันนี้เป็นสำนวนที่ผมไม่เคยเห็นมานานแล้ว ทั้งในหนังสือ หรือว่าในบทสนทนาต่าง ๆ เคยเรียนมาตอนอยู่ ม ปลาย แต่มาได้ยินอีกครั้ง ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 หลังจากนับคะแนนเลือกตั้งไปได้จำนวนหนึ่ง และพรรคพลังประชาชน มาที่หนึ่งแน่นอนแล้ว
จำ ไม่ได้ว่า นักข่าวต่างประเทศสำนักข่าวไหน ถามท่านหัวหน้าพรรคพลังประชาชนว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะให้หัวหน้าพรรคเล็กที่ร่วมจัตตั้งรัฐบาลจะเป็นนายก แทนที่จะเป็นตัวคุณสมัครเอง ตรงนี้คุณสมัครตอบไปว่า มันเป็นไปได้ยาก แล้วก็อธิบายต่อว่ามันเคยเกิดขึ้นนานมาแล้วสมัยท่านคึกฤทธิ์ แต่มันยากที่จะเกิดขึ้นในการจัดตั้งรัฐบาลคราวนี้ และนายกรัฐมาตรีต้องเป็นตัวคุณสมัครเองเท่านั้น
คุณสมัครใช้ประโยคว่า "It happens only once in a blue moon" ในการอธิบายความว่า มันเป็นไปได้ยากหรือไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ
ตัวอย่าง
- It's like once in a blue moon the election winner's party could not form the goverment (มันเป็นไปได้ยากที่พรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะไม่สามารถจัดตั้
คุณ สมัครเป็นตัวอย่างที่ดีของคนไทยที่พูดภาษาอังกฤษ เพราะลักษณะการพูดมั่นอกมั่นใจ ไม่ติดขัด สื่อสารรู้เรื่องดี ตรงนี้เป็นส่วนที่คนไทยขาดไป ที่ไม่ค่อยกล้าพูด กลัวผิดแกรมม่า กลัวผิด tense ก็เลยพูดไม่ได้ แล้วคนไทยก็พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เสียดี ซึ่งส่งผลกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย เราเทียบกับ สิงคโปร์ มาเลเซีย และ เวียดนาม ไม่ได้เลย จะว่าไปจริง ๆ แล้ววันที่ฟังคุณสมัครแถลงก็จับได้ว่าแกพูดผิดพูดถูกบ้าง เช่นคำว่า coup* คุณสมัครแกออกเสียงว่า "คู๊ป" (ออกเสียผิดเล็กน้อย) แต่ผมว่าฝรั่งเขาฟังแล้วเขาก็เข้าใจ เขาก็รู้ว่า ภาษาอังฤษ ไม่ได้เป็น Mother language (ภาษาแม่) สำหรับคนไทย ขนาดจอร์จ บุช ยังพูดผิดพูดถูก แล้วเราจะไปกลัวทำไม
กล้าพูดเข้าไว้ ไม่ต้องกลัวพูดผิด ภาษาอังกฤษเอาไว้สื่อสาร ไม่ได้เอาไว้โชว์ว่าสำเนียงดีเหมือนจบ Oxford ครับ.
---------------------------------------------
* coup อ่านว่า คูป์ (ไม่ออกเสียง ป ปลา) มาจากคำว่า Coup d' e' Tat (คู เด ท่าท์) แปลว่าการทำรัฐประหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น